วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


วันมาฆบูชา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓

"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
โอวาทปาฏิโมกข์
 หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุ วนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)


วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

การละเล่นของไทย

1.ตี่จับ
จำนวนผู้เล่น  แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เท่าๆ กัน ฝ่ายละ 312 คน
วิธีเล่น
ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนไว้ แล้วตกลงกันว่าใครจะเป็นคนตี่ก่อน โดยยืนอยู่คนละด้านของเส้นแบ่งเขต ฝ่ายที่เป็นคนตี่จะผลัดกันออกไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามพร้อมกับทำเสียง ตี่โดยไม่อ้าปาก และพยายามใช้มือแตะตัวฝ่ายตรงข้ามให้ได้จำนวนมากที่สุด แล้วรีบวิ่งกลับแดนของตน ผู้ที่ถูกแตะตัวก็ต้องไปเป็นเชลยของฝ่ายตรงข้าม รอให้ฝ่ายของตนตี่เข้าไปช่วย  เจ้าของแดนก็ต้องช่วยกันป้องกันไว้ไม่ให้คนตี่แตะมือช่วยเชลยได้ ฝ่ายใดถูกจับตัวเป็นเชลยหมดก็เป็นฝ่ายแพ้
อุปกรณ์
ไม่มี

2.ตีลูกล้อ
จำนวนผู้เล่น  ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
นำลูกล้อมายังจุดเริ่มต้น ใช้ไม้ส่งลูกล้อตีลูกล้อให้กลิ้งไป คอยเลี้ยงลูกล้อไว้ให้กลิ้งไปข้างหน้าโดยไม่ให้ลูกล้อสะดุดพลิกคว่ำ หากใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
อุปกรณ์
ไม้ส่งขนาดเหมาะสมกับมือผู้เล่น



3.ทอดแห
จำนวนผู้เล่น  ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ให้ฝ่ายหนึ่งเป็นปลา อีกฝ่ายหนึ่งจับมือต่อกันเป็นแถวยาว สมมุติว่าเป็นแหจับปลา เมื่อเริ่มการเล่น ผู้ที่เล่นเป็นปลาจะยืนอยู่ห่างๆ กัน ส่วนแหจะต้องวิ่งเข้าไปหาปลาเพื่อจะพยายามล้อมปลาไว้ให้ได้ โดยต้องจับมือกันให้แน่นอย่าให้หลุดออกจากกันเป็นอันขาด  ปลาก็ต้องวิ่งหนีไปให้ได้ ถ้าหนีไม่พ้นถูกล้อมอยู่กลางวงเมื่อใด แสดงว่าปลาติดแหแล้ว จะต้องออกจากการแข่งขันไป ผู้ที่เป็นแหก็จะไปล้อมจับปลาตัวใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือผู้ที่เล่นเป็นปลาเพียงคนเดียว ผู้นั้นก็เป็นผู้ชนะ
อุปกรณ์
ไม่มี

4.กระโดดเชือกคู่
จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
เลือกผู้เล่น 2 คนมาจับปลายเชือกคนละข้าง แล้วแกว่งไปด้านข้างทางเดียวกัน  ผู้เล่นที่เหลือเข้าไปกระโดดข้ามเชือกที่กำลังแกว่าง  จะกระโดดทีละคนหรือพร้อมกันหลายๆ คนก็ได้  ถ้าใครกระโดดสะดุดเชือก หรือกระโดดคร่อมเชือก ถือว่าตายต้องไปถือเชือกแกว่ง และให้คนที่ถือเชือกอยู่เดิมมากระโดดแทน
อุปกรณ์
เชือก 1 เส้น ยาวประมาณ 5.10 เมตร


5.ก่อกองทราย
จำนวนผู้เล่น  ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
นำทรายมากองไว้จำนวนมากๆ จากนั้นผู้เล่นทำการก่อกองทราย โดยการโกยทรายทำเป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ เช่น ปราสาทใหญ่ บ้าน เป็นต้น
อุปกรณ์
 ทราย


ประเพณีไทย(ต่อ)

ประเพณีไทย ขึ้นเขาพนมรุ้ง บุรีรัมย์
ตำนานเรื่องเล่า
ประเพณีไทย ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นศาสนสถานสำคัญบนยอดเขาของนครขอมโบราณนาม วนัมรุงปุระ ตั้งอยู่เชิงเขาพนมรุ้งวนัมรุงปุระ เป็นเมืองใหญ่และมีคามสำคัญมากเมืองหนึ่งบนเส้นทางปราสาทหินโบราณ จากปราสาทหินพิมายไปถึงเมืองพระนคร เมืองแห่งนี้ล่มสลายลงในยุคขอมสิ้นอำนาจและไม่เคยกลับคืนมาเป็นเมืองอีกเลย คงปล่อยให้ศาสนสถานอันสวยงามที่ยังสร้างไม่เสร็จแห่งนี้เปลี่ยวร้าง ปรักหักพังไปตามกาลเวลา
ปราสาทหินพนมรุ้ง น่าจะได้รับการจัดสร้างโดย นายช่างฝีมือเยี่ยมของขอม การรังวัดจัดสร้างต้องทำอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยเฉพาะการจัดสร้างแนวประตูปราสาท ที่ต้องวางแนวขนานกับยอดเขา เล็งให้ศูนย์กลางประตูอยู่ในแนวเดียวกับพระอาทิตย์ขึ้นตรงกันตลอดแล้วทำเครื่องหมายไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ของทุกปีเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นขนานกับยอดเขา จึงสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวตลอดทั้ง 22 ประตู และเกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้เพียงวันเดียวในรอบปี
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นใหม่ด้วยการผนวกเอาตำนาน การสร้างปราสาทหินพนมรุ้งรวมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนท้องถิ่นจัดเป็นงานเทศกาลวันเดียวที่มีเนื้อหาและมีจุดสำคัญของงานต่อเนื่องกันตลอดทั้งวัน นับตั้งแต่การรอชมพระอาทิตย์ขึ้น การทำบุญตักบาตร ขบวนแห่จำลองขบวนเดินทางของเจ้าเมือง การเฉลิมฉลองสมโภชปราสาท และการจัดเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมการแสดงแสงเสียง ประกอบการแสดงในพื้นที่โบราณสถานอันยิ่งใหญ่ในช่วงกลางคืน
วันเวลาจัดพิธีกรรม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี
รูปแบบประเพณี
ป็นงานประเพณีไทยวันเดียวที่มีจุดเด่นเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งวัน เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าพระอาทิตย์ขึ้น จะเป็นการเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวกันตลอดทั้ง 22 ประตู ปัญหาสำคัญคือ ทุกปีจะมีผู้เฝ้าชมมากแต่ประตูปราสาทเล็กทำให้ชมได้ลำบาก หากไม่ต้องการเบียดชม ก็มีการทำบุญตักบาตรบนยอดเขาในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการเดินทางของเจ้าเมืองวนัมรุงปุระนำขบวนนำขบวนข้าราชบริพารขึ้นมานมัสการองค์ปราสาท การนำชมตัวปราสาท และตกค่ำจะเป็นการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมแสงเสียงประกอบการแสดงพื้นในที่ลานกว้างหน้าปราสาทท่ามกลางแสดงจันทร์และแสงดาว
จุดเด่นของพิธีกรรม
มีจุดเด่นของพิธีกรรมเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงเช้าและมีช่วงพักในเวลากลางคืน นับเป็นงานเทศกาลที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายกิจกรรมติดต่อกันอย่างน่าสนใจยิ่ง


ประเพณีไทย

ประเพณีปล่อยโคม ลำพูน
ลักษณะความเชื่อ
ชาวบ้านทั่วไปเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยเคราะห์กรรมสิ่งที่ไม่ดีงามให้ลอยออกไปจากชีวิต และปล่อยให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์

พิธีกรรม
๑. การทำโคมลอย
โคมลอยทำด้วยกระดาษว่าว มีลักษณะสี่เหลี่ยมเรียกว่า "แบบกล่องข้าว" ลักษณะกลมเรียกว่า"ฮ้งมดส้ม" (รังมดแดง) ขนาดเล็กใช้กระดาษ ๓๖ แผ่น ขนาดกลาง ๗๒ แผ่น ขนาดใหญ่เกินกว่า ๗๒ แผ่นขึ้นไปและประกอบด้วยหางไม่น้อยกว่า ๖ ชิ้น ยาวขนาด ๕-๑๐ เมตร


๒. การปล่อยโคมลอย
ก่อนจะปล่อยโคมลอย รมด้วยควันไฟให้พองก่อนแล้วจึงปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อขึ้นจากพื้นสูงพอสมควรแล้วจึงปล่อยหางซึ่งขมวดอยู่ให้คลี่ยาวออกมา พร้อมกับกระดาษรุ้งสีต่างๆ และกระดาษเงิน ทองลอยออกมาจากโคม ของใครขึ้นได้สูงและสวย และมีลูกเล่นแพรวพราวจะได้รับความนิยมชมชอบ ถ้าเป็นการประกวดถือว่าชนะที่หนึ่ง

ความสำคัญ
เมื่อถึงเทศกาล "ยี่เป็ง" ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาจะทำโคมลอยไปถวายวัดเพื่อเป็นพุทธบูชาหรือบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ วันอื่น เดือนอื่นไม่นิยมทำกัน
สาระ
การปล่อยโคมลอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเพณียี่เป็งของชาวลำพูน เป็นที่รวมแห่งศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกับชาววัด นอกจากนี้การทำโคมลอยยังถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากทำไม่ถูกสัดส่วนจะปล่อยไม่ขึ้น

ประเพณีการส่งข้าวสงกรานต์ – สมุทธปราการ
ช่วงเวลา ช่วงสงกรานต์ วันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน
ความสำคัญ
การส่งข้าวสงกรานต์เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวรามัญที่พระประแดง ซึ่งคงจะได้รับอิทธิพลมาจากตำนานสงกรานต์ ตอนท่านเศรษฐีนำเครื่องสังเวยไปบวงสรวงเทวดาที่ต้นไทร เพื่อขอบุตรเพราะข้าวที่ใส่หม้อดิน กับข้าวต่างๆก็ใส่กระทงซึ่งทำด้วยใบตองไม่ใส่ถ้วย คล้ายกับการเซ่นจ้าวหรือบูชาเทวดา ชาวพระประแดงจะส่งข้าวสงกรานต์เฉพาะในวันที่ ๑๓,๑๔ และ ๑๕ เมษายน

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

                                                                               คุณธรรมของครู
เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการประพฤติปฏิบัติของครู  ทำให้คุณธรรมของครูตกต่ำ  จนเกิดวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิชาชีพครูในขณะนี้  อย่างไรก็ตามครูมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดวิชาชีพหนึ่ง  ดังนั้นจึงมีการพัฒนาคุณธรรมของครู  เพราะคุณธรรมกับครูเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้  หากครูขาดคุณธรรมความเป็น
ปูชนียบุคคลของครูก็จะหมดไป

ความหมายของคุณธรรม